ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวเรื่องโลกธรรม ๘ หัวข้อ[296] ความว่า
โลกธรรม 8 (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป — worldly conditions; worldly vicissitudes)
1. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ — gain)
2. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย — loss)
3. ยส (ได้ยศ, มียศ — fame; rank; dignity)
4. อยส (เสื่อมยศ — obscurity)
5. นินทา (ติเตียน — blame)
6. ปสํสา (สรรเสริญ — praise)
7. สุข (ความสุข — happiness)
8. ทุกข์ (ความทุกข์ — pain)
โดยสรุปเป็น 2 คือ ข้อ 1-3-6-7 เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่า สิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น
ด้วยพุทธสุภาษิตบทนี้ ในเรื่องเดียวกันนั้น คนนึงได้รับการสรรเสริญ แต่อีกคนนึงได้รับการนินทา เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรนำมาคิดปรุงแต่งไป ทำให้จิตของเราเกิดความฟุ้งซ่าน หาความสงบไม่ได้ เป็นเรื่องปกติ
ในเหตุการณ์เดียวกันนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนี้จะตกไปอยู่ในคนกลุ่มใด ถ้าเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องการทำความดี อยู่ในกลุ่มของชนผู้มีปัญญาก็ได้รับการสรรเสริญ เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น