วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พุทธศาสนสุภาษิต : : คนทรามปัญญากับยศ
ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ อตฺตโน

อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ


คนทรามปัญญา ได้ยศแล้ว


ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน


ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียนทั้งตนและคนอื่น

[๐๑.๒๘](๒๗/๑๒๒)


ในที่นี้ปัญญา หมายถึงอะไร ในหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายในหัวข้อของปัญญาไว้ดังนี้

[93] ปัญญา 3 (ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง — knowledge; understanding)

       1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล — wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out)

       2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน — wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others)

       3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ — wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice)

D.III.219; 
Vbh.324. ที.ปา. 11/228/231; 
อภิ.วิ. 35/804/438.

ในหัวข้อที่ 1 และ 2 พอจะทราบความหมายได้ ส่วนหัวข้อที่ 3 ภาวนายปัญญานั้น จะอธิบายในความหมายของคำว่า ภาวนา ดังนี้


ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ

1. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี 2 อย่าง คือ  

1. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ            
2. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตาม เป็นจริง,    
อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น 2 เหมือนกันคือ           

1. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
           
2. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์

2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี 3 ขั้น คือ

1. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน  
2. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ
3. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน

3. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
ภาวนาปธาน เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิด ให้มีขึ้น(ข้อ ๓ ในปธาน ๔)

ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา, ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น เมตตากรุณา (จิตตภาวนา) และ ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจ สิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง (ปัญญาภาวนา)ดู ภาวนา (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)


อิทธิบาทภาวนา การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์


www.พุทธศาสนาในประเทศไทย.com



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น